Search Category / ค้นหา
โคพันธุ์ชอตฮอร์น - Shorthorn Cattle

"โคเนื้อที่สามารถผลิตเนื้อคุณภาพดี มีไขมันแทรกกล้ามเนื้อสูง
กล้ามเนื้อมาก และเนื้อสันขนาดใหญ่ เปอร์เซ็นต์ซากสูง"
โคพันธุ์ชอตฮอร์น - Shorthorn Breed
ดร.สรรเพชญ โสภณ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
มีจุดกำเนิดอยู่ในบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอังกฤษในเมือง Northumberland, Durham, York และ Lincoln เมืองเหล่านี้อยู่ชายฝั่งทะเลเหนือและอยู่ระหว่าง cheviot Hills กับตอนกลางของเกาะอังกฤษ การพัฒนาพันธุ์ชอร์ตฮอร์นครั้งแรกเกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำทีส์ (Tees) ซึ่งบริเวณที่รู้จักกันดีจะอยู่ระหว่างเมื่อ Durham และ York ซึ่งโคขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้แต่ดั้งเดิมเรียกว่า Teeswater cattle ซึ่งในบริเวณลุ่มน้ำทีส์ (Tees River) มีความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร ประกอบไปด้วยทุ่งหญ้าและพืชพรรณที่สมบูรณ์
จุดกำเนิดพันธุ์
ต้นพันธุ์ - กล่าวกันว่าในตอนเหนือของเกาะอังกฤษ คือ แหล่งของโคสำหรับประเทศ โคขนาดเล็ก Celtic short-horned พบในอังกฤษในสมัยที่โรมันแผ่อิทธิพลเข้ามา และต่อมาคนอังกฤษได้นำโคจากตอนเหนือของยุโรปเข้ามาเลี้ยงในศตวรรษที่ 17 มีโคหลายชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีใจอังกฤษหนึ่งในนี้คือ pied ซึ่งเป็นต้นพันธุ์ใน Lincolnshire ส่วนใหญ่จะมีสีขาว และต้นพันธุ์โคที่มีสีแดงจะอยู่ที่เมือง Somerset และ Glouces-tershire มีโคอยู่ในตำบล Holderness ของเมือง Yorkshire ที่มีรูปร่างและขนาดและสีเหมือนกับโคที่พบในยุโรปตอนเหนือในขณะนั้นแต่ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่านำเข้ามาเมื่อไหร่ ใครเป็นคนนำเข้ามา โคเหล่านี้เต็มไปด้วยเนื้อ และเลี้ยงให้มีซากที่ใหญ่ขึ้นได้แม้ว่าเนื้อจะหยาบและมีสีคล้ำ ส่วนแม่โคก็ให้นมได้มาก ในช่วงต้นของการปรับปรุงพันธุ์ราวๆ ค.ศ.1580 พบว่าโคที่มีอยู่ในเขต Yorkshire จะมีสีต่างๆ ได้แก่ น้ำตาลอ่อน เหลือง เหลืองอ่อน แดง แดงเข้ม ลายแดง ขาว ขาว และด่างๆ จนกระทั่งใน ปี ค.ศ.1750 จึงเริ่มมีการเก็บบันทึกโคอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ๆ ที่มีการเลี้ยง เพื่อปรับปรุงพันธุ์ในแต่ละท้องถิ่น นักปรับปรุงพันธุ์ในแต่ละท้องถิ่น นักปรับปรุงพันธุ์โคเหล่านี้ที่มีการกล่าวถึงได้แก่ Sharter, Picdering, Shephanson, Wetherell, Maynard, Dobinson, Charge, Wright, Hutchinson, Robson, Snowden, Waistell, Richard, Masterman and Robertson บุคคลเหล่านี้และคนอื่นๆ ได้จดบันทึกพันธุ์ประวัติของโคตัวเองใน The English Herd Book เล่มแรก ซึ่งไม่ได้มีการเผยแพร่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1822
นักปรับปรุงพันธุ์โคในยุคแรกๆ ได้ทิ้งมรดกโคชอร์ตฮอร์น หรือโคทีส์วอเตอร์ ไว้ให้นักปรับปรุงพันธุ์รุ่นหลังได้ทำงานต่อมา โดยโคที่ได้พัฒนามาแล้วจะคำนึงถึงขนาดและโครงร่างที่มีหลังกว้างและลึก ช่วงขาหน้ากว่าง ขนและหนังนุ่มและสีชัดเจน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพการให้อาหารอย่างอิสระยังไม่มีการคัดเลือกตามลักษณะที่ตั้งใจไว้ เหมือนการคัดเลือกพันธุ์ในปัจจุบัน ทำให้ลักษณะสัตว์ยังไม่เป็นไปในแบบแผนเดียวกัน
ต้นพันธุ์ชอร์ตฮอร์น
Robert Bakewell เป็นชาวนาเกิดในปี ค.ศ.1726 ในเมือง Leicestershire มีอิทธิพลต่อพันธุ์ชอร์ตฮอร์นอย่างมาก แม้ว่าเขาจะไม่เคยผสมพันธุ์โคชอร์ตฮอร์นเลย ก่อนจะถึงสมัยของ Bakewell ชาวนาจะผสมพันธุ์สัตว์ที่ไม่มีสายสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และยังคงถือปฏิบัติเรื่อยมา จน Bakewell ได้แสดงให้เห็นว่าการผสมพันธุ์สัตว์ที่มีสายสัมพัน์ใกล้ชิดสามารถทำได้เขาได้ผสมพันธุ์แก Leicester และโค Long-horned และคัดทิ้งลักษณะสัตว์ที่ไม่ต้องการออกไปอย่างเข้มงวด ลักษณะที่ต้องการก็จะสามารถคงอยู่ และความสามารถทำให้คงที่ได้รวดเร็วกว่าการผสมพันธุ์แบบเลือดไม่ชิด นักปรับปรุงพันธุ์โคชอร์ตฮอร์นก็ใช้วิธีของ Bekewell นี้ ในการปรับปรุงพันธุ์และในปศุสัตว์อื่นๆ ด้วยเช่นกันที่ใช้วิธีนี้ ปัจจุบัน Robert Bakewell ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ แม้ว่าในยุคของเขาจะถูกมองว่าไม่ปกติและขาดความมั่นคงทางอารมณ์ ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในสมัยนั้นไม่เห็นด้วยกับเขา
Charles and Robert colling สองพี่น้องที่ถูกอ้างถึงเสมอว่าเป็นผู้ก่อตั้งพันธุ์โคชอร์ตฮอร์น โดยทั้งสองได้พัฒนาระบบการผสมพันธุ์ขึ้นอย่างมีระบบในราวปี ค.ศ.1783 พี่น้อง Colling ได้พบกับ Bakewell และได้ศึกษาวิธีการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดและได้นำวิธีการมาใช้จนได้พ่อพันธุ์ชื่อ Comet (155) ซึ่งให้ลูกในปี ค.ศ. 1804 และถูกขายไปโดยการประมูลในราคา $5,000 และลูกวัวตัวที่สองที่เป็นลูกของ Favorite (252) เป็นที่รู้จักกันในนาม “Durham Ox” มีน้ำหนักถึง 3,400 ปอนด์ (1,545 กก.) และถูกนำแสดงทั่วประเทศ พี่น้อง Colling ทำให้โคพันธุ์ชอร์ตฮอร์น เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และโคต้นพันธุ์จากฝูงนี้ ก็เป็นต้นกำเนิดพันธุ์ ชอร์ตฮอร์นในเกาะอังกฤษและอเมริกา
ในปีค.ศ. 1790 Thomas Booth แห่งเมือง Killerby ใน Yorkshire ได้ซื้อโคชอร์ตฮอร์นพันแท้จากพี่น้อง Colling เข้ามาเลี้ยงในฟาร์มที่ Killerby และ Warlaby โดยทำการคัดเลือกในคุณภาพของเนื้อ โดยเฉพาะการผลิตเนื้อในช่วงฤดูแล้ง โดยเน้นเนื้อส่วนหลังและสัน และทำการคัดเลือกอย่างต่อเนื่อง โดยใช้พ่อพันธุ์ Hubback และ Favorite จากฝูงของ Colling เมื่อได้ลักษณะที่ต้องการแล้ว เขาได้ทำการผสมแบบเลือดชิด ซึ่งประสพความสำเร็จมาก และสืบทอดมายังรุ่งลูก คือ Richad Booth และ John Booth
Thomas Bates เกิดในเมือง Nothumverland ในปี 1775 เริ่มเลี้ยงโคในปี ค.ศ.1800 โดยซื้อมาจากฝูงของ Colling นำมาปรับปรุงพันธุ์ โดยเน้นการคัดเลือก ทางลักษณะการให้นม ดังนั้นโคชอร์ตฮอร์นที่เป็นลักษณะโคกึ่งเนื้อกึ่งนม จึงเป็นสายพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดจากการคัดเลือกจากฝูงของ Thomas Bates
โคชอร์ตฮอร์น นับเป็นโคพันธุ์แรกที่มีการจดบันทึกพันธุ์ประวัติ และมีพันธุ์โคมากกว่า 40 พันธุ์ที่พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โดยใช้โคชอร์ตฮอร์นเป็นพื้นฐาน
The North Dakota Livestock Mutual Aid Committee made a loan for one farmer to buy a Beef Shorthorn bull.
Mandalong Super Flag (P) created history becoming the first foreign bull (Australia) ever to win the Grand Champion Shorthorn and Poll Shorthorn Bull awarded at the National Western Livestock Show in Denver, Colorado, US.
Mandalong Poll Shorthorns broke almost every record in Australia by Rick Pisaturo In 1968.
ลักษณะประจำพันธุ์
โคชอร์ตฮอร์นเป็นโคเนื้อขนาดกลาง มีสีแดง ลาย หรือ สีขาว ไม่มีเขา เชื่อง แม่โคเลี้ยงลูกดี โตเร็ว มีอายุถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วผสมข้ามพันธุ์ได้ดีให้ลูกผสมที่มีลักษณะเด่นกว่าเดิม ไม่เสี่ยงต่อการเป็น eye cancer ในเขตร้อนมีความสมบูรณ์พันธุ์ คลอดง่าย น้ำหนักแรกเกิดประมาณ 39 กก. เพศเมียโตเต็มที่ น้ำหนัก 640-730 กก. เพศผู้โตเต็มที่มีน้ำหนักได้ถึง 1000-1100 กก.
การเลี้ยงโคชอร์ตฮอร์นทั่วโลก
ในประเทศแคนาดาโคชอร์ตฮอร์นถูกนำเข้ามาพร้อมๆ กับการอพยพตั้งถิ่นฐานของคนอังกฤษและสก๊อตแลนด์ ในอเมริกาเหนือตั้งแต่ปี 1825 กลุ่มผู้เลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์ในแคนาดา และใน 9 รัฐของอเมริกาได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น The America Shorhtorn Breeder Society ในปีค.ศ.1846 และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อที่สามารถผลิตเนื้อคุณภาพดี มีไขมันแทรกกล้ามเนื้อสูง กล้ามเนื้อมาก และเนื้อสันขนาดใหญ่ เปอร์เซ็นต์ซากสูง โคเนื้อชอร์ตฮอร์นของแคนาดา ยังส่งออกไปยังสก๊อตแลนด์และอีกหลายๆ ประเทศอีกด้วย
โคชอร์ตฮอร์นถูกสั่งเข้ามาเลี้ยงในออสเตรเลียครั้งแรกในปี 1822 โดยครอบครัว Archer ใน Tamania แต่โคตายระหว่างการเดินทางในทะเล โคชอร์ตฮอร์นชุดแรกที่ขึ้นแทะเล็มบนแผ่นดิน ออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาจาก Yorkshire ถึงออสเตรเลียในเดือนเมษายน ค.ศ.1825 โดย Potter McQueen และเป็นโคเนื้อที่บุกเบิกการเลี้ยงโคในออสเตรเลีย และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อของออสเตรเลีย ทั้งในเขตอบอุ่นทาตอนใต้ และเขตแห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศ
ในนิวซีแลนด์นำเข้าโคชอร์ตฮอร์นครั้งแรกจากประเทศออสเตรเลีย และในปี 1842 มีโคชอร์ตฮอร์นหลายฝูง ซึ่งเป็นโคพันธุ์หลักที่ใช้สำหรับผลิตนมและเนื้อ และใช้ทำงานด้วยในปัจจุบันใช้สำหรับผลิตลูกผสม เพื่อผลิตโคเนื้อที่มีคุณภาพ
จะเห็นได้ว่าโคชอร์ตฮอร์นเป็นโคดั้งเดิมที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อและอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อของประเทศผู้ผลิตเนื้อรายใหญ่ของโลก
การเลี้ยงโคพันธุ์ชอร์ตฮอร์นในประเทศไทยเป็นไปได้ไหม?
การเลี้ยงโคพันธุ์ชอร์ตฮอร์นในประเทศไทยก็สามารถทำได้ โดยการนำพันธุกรรมของโคพันธุ์ชอร์ตฮอร์นมาปรับปรุงพันธุ์ร่วมกับโคพื้นฐานในประเทศ และถ้ามีเป้าหมายที่ชัดเจนในเรื่องของตลาดและระบบการผลิตเนื้อคุณภาพสูง ก็จะสามารถขยายและพัฒนาพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น การนำเข้าพันธุกรรมโคพันธุ์ชอร์ตฮอร์น โดยการนำเข้าน้ำเชื้อโคพันธุ์ชอร์ตฮอร์นเพื่อผสมกับโคบราห์มัน หรือโคลูกผสมบราห์มันหรือโคนมลูกผสมเพื่อผลิตเนื้อและพัฒนาต่อเนื่องให้เป็นโคเนื้อพันธุ์แท้ของไทย เป็นวิธีการที่เป็นไปได้สูง ผู้เขียนเชื่อว่าโคพันธุ์ชอร์ตฮอร์นที่เกิดในประเทศไทยจะสามสารถปรับตัวและเจริญเติบโต ได้ดีและเมื่อมีการขยายพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์อย่างต่อเนื่องเราก็จะมีโอกาสที่จะมีโคพันธุ์ชอร์ตฮอร์นหรือโคเนื้อที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยได้
Link ที่เกี่ยวข้องกับวัวพันธุ์ชอร์ตฮอร์น
http://en.wikipedia.org/wiki/Beef_Shorthorn
http://en.wikipedia.org/wiki/Shorthorn
http://www.ansi.okstate.edu/breeds/cattle/shorthorn/
http://www.canadianbeefbreeds.com/
http://www.beefshorthorn.org.au/
http://www.rarebreeds.org.uk/cattle
http://www.sandwickshorthorns.co.uk/
http://www.hallsfordshorthorns.co.uk/
http://www.britannicrarebreeds.co.uk/breedinfo/cow_whitebredshorthorn.php
http://www.cattletoday.com/forum/viewtopic.php?f=5&t=68029
http://www.gaddesdenestate.co.uk/conservation/shorthorn-herd/
http://www.rickpisaturo.com.au/cattle/my-involvement-in-the-cattle-industry/
http://heritagerenewal.org/coteau/mcintosh/index.htm