ต้อน...อย่างมีเชิง!!! # คาวบอย 37
พอดีวันอังคารที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมเยียนถิ่นเก่า ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อมาทำกิจกรรมร่วมกับน้องโครงการม้า ภาควิชาสัตวบาล ณ คาวบอยแลนด์
ในวันนั้นผมได้พบกับบุคคลที่รักและสนิทคุ้นเคยกันอย่างดี และยังเป็นทั้งรุ่นพี่และอาจารย์ที่เคารพนับถือมากที่สุด เรียกได้ว่าได้ดิบได้ดีมีทุกวันนี้ได้ก็ด้วยพระคุณที่สามจริงๆครับ เรานั่งสนทนากันไปเรื่อยๆ มากมายหลายเรื่อง ทั้งเรื่องวัว ม้า และกิจกรรมต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ด้วยความที่อาจารย์กลัวว่าเวลาผมอยู่บ้านเฉยๆแล้วจะเหงา ท่านจึงไปถ่ายสำเนาบทความที่ท่านเคยเขียนลงวารสารปศุสัตว์เอาไว้มาให้อ่าน แต่หารู้ไม่ว่าบทความเกือบแทบทุกเรื่องที่อาจารย์ได้บอกกล่าวเล่าเรื่องเอาไว้นั้น ผมได้ติดตามหาอ่านมาตลอดเวลาเลยล่ะครับ
วันนี้ผมจะขอหยิบยกเรื่องใกล้ตัวที่คนเลี้ยงวัวอาจจะมองข้ามไปหรือคาดไม่ถึงมาเล่าสู่กันฟัง โดยคัดลอกถอดความมาจากบทความของอาจารย์ทั้งฉบับเลยครับ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องจริงจากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้น ณ ทุ่งกำแพงแสน ส่วนจะมีต้นสายปลายเหตุมาจากอะไรนั้น เราลองมาติดตามชมกันนะครับ
ปล. บทความนี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารไทยคาวบอย แมกกาซีน ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 - 3 ประจำเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2549
แล้วจริงๆมันต้องต้อนยังไงคะ
ตอนเอาไปชั่ง หรือจะตอนเอาไปเชือดกันหล่ะพี่ ใช้กิ่งไม้ โวกเวก โวยวาย วัวตกใจแหงมๆๆ
________________
ขยันทำ ไม่ขยันพูดพล่าม สักวันเราจะมีกิน
ครับ! หลายต่อหลายคนคิดว่าการไล่ต้อนวัวเป็นเรื่องง่ายๆ รวมทั้งนิสิตกลุ่มดังกล่าวด้วย ที่จริงจะไปโทษนิสิตก็ไม่ค่อยจะถูกต้องนัก น่าจะโทษผู้เขียนมากกว่าเพราะว่ามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการสอนและอบรมให้นิสิตมีความรู้และทักษะในเรื่องการเลี้ยงโคเนื้อ และไม่น่าที่จะมองข้ามในเรื่องนี้ไป
การเรียนรู้และประสบการณ์มีส่วนช่วยในการเลี้ยงดูและการจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การไล่ต้อนโคก็เช่นเดียวกัน ต้องอาศัยประสบการณ์และความเข้าใจในตัวโค โดยเฉพาะในเรื่องธรรมชาติและพฤติกรรม การใช้เสียงใช้ความรุนแรงหรือใช้คนมากเกินไปเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก
หลังจากเรื่องนี้เกิดขึ้น ผู้เขียนกลับมานั่งคิดทบทวนดูสักครู่และก็บังเอิญอีกเช่นเคยที่ตาเหลือบไปเห็นเอกสารฉบับหนึ่งที่วางอยู่บนโต๊ะทำงาน ซึ่งได้ถ่ายเอกสารเก็บไว้นานแล้ว เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการไล่ต้อนโคโดยเฉพาะ
ผู้เขียนจึงได้รีบแปลและเรียบเรียงเสียใหม่ เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะต่อผู้เลี้ยงมือใหม่ จากบทความเรื่อง “Forget That Rodeo Cowboy Stuff” ซึ่งเขียนโดย เทมเพิ่ล แกรนดิน (Temple Grandin) จากหนังสือ Beef ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1990 จากคำอธิบายของ บัด วิลเลี่ยม (Bud William) เจ้าของปศุศัตว์ผู้มีประสบการณ์และเฝ้าสังเกตในเรื่องนี้มากกว่า 30 ปี
บัด วิลเลี่ยม ได้อธิบายถึงการไล่ต้อนฝูงโคโดยวิธีที่ไม่ต้องใช้เสียง พร้อมกับสาธิตให้ เทมเพิ่ล แกรนดิน ได้เห็นถึงวิธีการของเขาว่ามันได้ผลจริงๆ แค่ไหน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ
อ่านผ่านๆ เป็น..ตอน...อย่างมีเชิง...
ตกใจโหม๊ดดด!!!
________________
ติดตามผลงานได้ที่.. https://www.facebook.com/TBFMagazine มันหมักยีสต์Byบ้านสวน https://www.facebook.com/ManmakYist
วิลเลี่ยมได้แนะนำว่า ถ้าต้องการใช้วิธีของเขา ขอให้ลืมวิธีเก่าๆอย่างที่บรรดาคาวบอยทั้งหลายชอบทำกัน ตั้งแต่การขี่ม้าไล่ต้อน ส่งเสียงดัง หรือตะโกนโหวกเหวก วิธีของเขาต้องไล่ต้อนด้วยความสงบเงียบ ปราศจากการส่งเสียงดังและไม่ใช้ความรุนแรง จะใช้วิธีค่อยๆเดินไล่ต้อน ขี่ม้าหรือขับรถก็ได้
วิลเลี่ยมอธิบายเพิ่มเติมว่า ปกติแล้วโคมีมุมมองที่ค่อนข้างกว้าง มันสามารถชายตามองไปข้างๆได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องหันตัว ยกเว้นบริเวณตอนหลังจะเป็นจุดที่ตามองไม่เห็นในขณะที่มันเคลื่อนที่ไปเป็นฝูง หรือแม้ว่าในขณะที่มันกำลังแทะเล็มหญ้าอยู่ มันยังคงชำเลืองดูตัวอื่นข้างๆมันอยู่เสมอ
ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้มันสามารถเกาะกลุ่มกันได้และลักษณะการเกาะกลุ่มกันนั้นมักจะอยู่ในตำแหน่ง A และ B เสมอ
ขอให้เราเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่าโคแต่ละตัวมีขอบเขตความกลัวของมันเอง เป็นบริเวณหรือขอบเขตที่เป็นส่วนตัว เมื่อไรก็ตามที่คนหรือผู้ไล่ต้อนเข้ามาในเขตนี้ มันจะเคลื่อนหนีทันที แต่เมื่อเคลื่อนที่ออกจากขอบเขตบริเวณดังกล่าวมันก็จะหยุดนิ่ง
เมื่อเป็นเช่นนี้มีข้อสงสัยว่า ขอบเขตรัศมีความกลัวดังกล่าวมีความกว้างสักเท่าไร ซึ่งในเรื่องนี้วิลเลี่ยมได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความเปรียวและความเชื่องของโคแต่ละตัวและแต่ละฝูง หรือแม้แต่มุมหรือตำแหน่งที่ผู้ไล่ต้อนเดินเข้าไปหา ขอบเขตความกลัวจะกว้างมากถ้าเราเดินเข้าไปทางตอนหน้าหรือทางด้านหัว และจะยิ่งกว้างออกไปมากเมื่อมันตกใจกลัว ขอบเขตจะแคบลงในขณะที่มันอยู่ในซองบังคับ
พื้นฐานขั้นแรกสำหรับผู้ที่จะทำการไล่ต้อนฝูงโคตามวิธีการของวิลเลี่ยม ประเด็นสำคัญคือ ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขต หรือรัศมีความกลัวของโคให้ดี(เส้นวงกลมรูปที่ 1)
ผู้ไล่ต้อนจะต้องเข้าไปให้ใกล้พอที่จะกดดันและบังคับโคให้เคลื่อนไหว ถ้ามันเคลื่อนที่เร็วเกินไปแสดงว่าตัวเราเลยเข้าไปในเขตรัศมีความกลัวของโค ดังนั้นจะต้องถอยห่างออกไปอีก โดยถ้ายืนอยู่ตรงตำแหน่ง A โคจะหยุดนิ่ง แต่ถ้าย้ายไปที่ตำแหน่ง B โคจะเคลื่อนที่มาข้างหน้าและเฉออกเล็กน้อย
ภาพแสดงขอบเขตรัศมีความกลัวของโค
ฝูงโคที่อยู่ในแปลงหญ้าหรือทุ่งโล่งกว้างก็เช่นเดียวกัน เราสามารถบังคับให้ฝูงโคเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เราต้องการได้ โดยการเคลื่อนที่เข้าหาและถอยห่างจากฝูงโคอย่างต่อเนื่อง ถ้าฝูงโคเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ ผู้ไล่ต้อนก็ไม่จำเป็นที่ต้องเข้าใกล้ ควรถอยออกมาให้ห่าง
การไล่ต้อนในพื้นที่จำกัดอย่างเช่น ทางเดินแคบๆ ที่มีรั้วหรือคอกรวม ผู้ไล่ต้อนควรใช้ความระมัดระวังอย่าเข้าใกล้มากจนเกินไป เพราะจะทำให้โคตื่น อาจวิ่งชนรั้วคันคอก หรือไม่ก็โดดข้ามรั้วไปเลย
ถ้าโคที่อยู่ในซองบังคับหยุดเดินหรือเริ่มถอยหลัง หรือฝูงโคที่อยู่ในทางเดินแคบๆเริ่มกลับตัว ผู้ไล่ต้อนต้องเคลื่อนออกมาให้ห่างและเยื้องไปทางหลังให้ต่ำกว่าแนวเส้นสมดุลของความกลัวหรือแนวไหล่ของโค(Point of Balance)
ถ้าผู้ต้อนอยู่หน้าแนวไหล่นี้ โคจะถอยหลัง หรือไม่ก็หันหลังหนีไปเลย ถ้าผู้ต้อนอยู่หลังแนวไหล่ โคจะเคลื่อนที่มาข้างหน้า
จากหลักการนี้เองที่ใช้ในการออกแบบซองบังคับให้มีความโค้ง แต่อย่าลืมว่าห้ามเข้าไปยืนบริเวณจุดบอด(Blind spot) ซึ่งอยู่บริเวณส่วนท้าย โคจะมองไม่เห็น เป็นสาเหตุให้โคหยุดเดินและหันกลับมามองว่าผู้ไล่ต้อนอยู่ตรงไหน
การไล่ต้อนที่ดีโคจะค่อยๆเดินไปเรื่อยๆตามตัวที่เดินนำหน้า ไม่เครียดหรือตกใจ ทำให้เชื่องและคุ้นกับคนมากขึ้น ค่อยๆฝึกไปเรื่อยๆโคจะเกิดการเรียนรู้ ผลต่อไปจะทำให้การควบคุมฝูงโคเป็นไปได้ง่ายขึ้น
พักโฆษณา แล้วอย่าลืมมาต่อนะน้อง กระทู้นี้ดีมาก
________________
ศรัทธา คือ การเชื่อในสิ่งที่คุณยังไม่เห็น และรางวัลแห่งศรัทธาก็คือ การได้เห็นในสิ่งที่คุณเชื่อ
บัด วิลเลี่ยม นี่เค้าเป็นญาติกันกับ จิม วิลเลี่ยม หรือเปล่าครับคุณหนึ่ง
เที่ยงวันหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนกำลังนั่งทานข้าวอยู่ที่โรงอาหารกลางของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สักครู่หนึ่งก็มีนิสิตสัตวบาลชั้นปีที่ 3 เข้ามาร่วมโต๊ะด้วยอีก 5 หนุ่ม ในระหว่างที่ทานข้าวอยู่นั้น การพูดคุยกันค่อนข้างจะออกรสชาติดี เพราะเรื่องที่คุยกันนั้นก็เหมือนๆกับเรื่องที่บรรดาหนุ่มๆทั้งหลายชอบคุยกัน สักครู่ใหญ่ผู้เขียนก็นึกถึงงานทดลองโคขุนของนิสิตในโครงการ “การเลี้ยงโคขุนเพื่อการศึกษา” ขึ้นมาได้ ก็เลยถามถึงความคืบหน้าด้วยความห่วงใยว่าเป็นยังไงบ้าง
ปล. บทสนทนาต่อไปนี้เป็นการปรึกษาหารือกันระหว่างอาจารย์(ผู้เขียน)กับนิสิตภาควิชาสัตวบาล(สานนท์)
ผู้เขียน : นนท์! เป็นยังไงบ้าง...วัวขุนโตดีไหม?
นิสิต : ไม่ทราบครับ เพราะว่าชั่งน้ำหนักไม่ได้
ผู้เขียน : เครื่องชั่งเสียหรือไง?
นิสิต : เปล่าครับ! ไล่วัวขุนไปที่คอกคัดเพื่อชั่งน้ำหนักไม่ได้ วัวมันไม่ยอม มันตื่นคน
ผู้เขียน : อ้าว!
นิสิต : ครั้งแรกเลย ผมกับเพื่อน 6 คน ช่วยกันไล่ต้อนวัวขุน(6 ตัว) มันไม่ยอม มันวิ่งไปวิ่งมาวนอยู่แถวๆนั้น ไล่เท่าไรก็ไม่ยอมไป เสียเวลาอยู่เกือบชั่วโมง
ผู้เขียน : แล้วไงต่อ (คิดในใจว่า หลังจากไล่ต้อนอยู่พักใหญ่เกือบชั่วโมง วัวขุนมันคงยอมเข้าคอกคัดแต่โดยดี)
นิสิต : มันก็ไม่ยอมครับ! พวกผมเลยต้องยอมพวกมันแทน ไล่ต้อนกลับไปที่คอกขุน
แหม! พอไล่กลับเข้าคอกขุนเท่านั้น พ่อเจ้าพระคุณแต่ละท่าน เรียงหน้ากลับเข้าคอกแต่โดยดี สงสัยคงจะหิว
ผู้เขียน : ก็แหงล่ะ! คอกของมัน มันอยู่ของมันทุกวันนี่หว่า ตกลงพวกนายไม่ได้เรื่องอีกตามเคย
นิสิต : พวกผมแค้นมาก เหนื่อยก็เหนื่อย หิวก็หิว นี่ถ้ามันตัวเท่าพวกผมนะ และพูดจาภาษาคนรู้เรื่องล่ะก็ ผมว่าจะท้าพวกมันชกตัวต่อตัวเลย
ผู้เขียน : อ้าว! เป็นงั้นไป
นิสิต : ทีนี้วันรุ่งขึ้น พวกผมเกณฑ์เพื่อนๆ และน้องๆ มาช่วยกันรวม 20 คน ช่วยกันไล่ต้อนใหม่
ผู้เขียน : 20 คน ไล่ต้อนวัว 6 ตัว เนี่ยนะ!
นิสิต : ครับ! (สานนท์และเพื่อนๆต่างแย่งกันพูดขึ้นมา) พวกผมกะว่าคราวนี้พวกมันต้องยอมแพ้พวกผมแน่ๆ เพราะพวกผมเยอะกว่า แต่ปรากฏว่ามันกลับตื่นมากกว่าเดิม วิ่งเตลิดลงแปลงหญ้าไปเลย หมดสิทธิ์ต้อนเลยครับ เพราะพื้นที่มันกว้างเหลือเกิน ยิ่งเข้าไปใกล้มันยิ่งวิ่งหนี ก็เลยต้องปล่อยเลยตามเลย ปล่อยให้มันอยู่ในแปลงหญ้าสักพัก พอได้เวลากินอาหารข้น มันก็เดินเรียงหน้ากลับเข้าคอกขุนเอง มันน่าเตะจริงๆ
ผู้เขียน : พวกมึงนั่นแหละน่าเตะ! (คิดในใจ)
เก่งจริงก็ลองไปเตะสิ แต่ละตัวน้ำหนักเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 400 กก. นะ ไหนๆ ”กราบรบกวนพวกท่านทั้งหลาย ได้โปรดกรุณาอธิบายวิธีการไล่ต้อนวัวของพวกท่าน ให้ข้าพเจ้าได้ฟังเป็นบุญหูหน่อยซิ! จะได้ไหมครับ?” (พูด)
นิสิต : หัวเราะ!
(ทุกคน).....ก็ทุกคนช่วยกันครับ บางคนใช้ไม้ หักกิ่งไม้เอามาโบกไปโบกมา ของใครยาว(กิ่งไม้)ก็ไล่ตีวัว บางคนใช้เสียงหรือไม่ก็กางไม้กางมือ ตะโกนโหวกเหวกๆ ช่วยกันล้อมวัวให้วิ่งไปข้างหน้า พวกผมว่ามันน่าจะได้ผลนะ!
ผู้เขียน : กรรมของกูแท้ๆ (คิดในใจ)
________________
จะมีสักกี่ครุยที่ลุยโคลน...Stockmanship

________________
จะมีสักกี่ครุยที่ลุยโคลน...Stockmanship
