สอบถามการให้แคลเซียมกลูโคเนตทางเส้นเลือดดำ
สอบถามผู้รู้ครับเจอวัวชาวบ้านหลายตัวช่วงให้นมลูกล้มไม่ยอมลุกสุดท้ายส่งโรงฆ่า(เข้าใจว่าเป็นไข้นม เนื่องจากผอม ไม่มีแรง อาหารไม่สมบูรณ์)
เลยอยากรู้ตำแหน่งการให้แคคลเซียมกลูโคเนตและน้ำเกลือวัวครับ
พยามค้นในเน็ตแล้วยังไม่สามารถที่จะนำไปทำเองได้ ขอความกระจ่างกับผู้รู้ครับดังนี้
๑ การหาเส้นเลือดดำข้างหลอดอาหารมีเทคนิคอย่างไร
๒ การแทงเข็มฉีดยาเข้าเส้นเลือดมีเทคนิคอย่างไรให้วัวปลอดภัยไม่ช็อค
๓ การปล่อยน้ำเกลือหรือแคลเซียมควรใช้เวลานานเท่าไร การปล่อยยาเข้าให้ไหลประมาณอย่างไร เช่น ๑๐๐ ซีซี ควรใช้เวลานานเท่าไร
๔ การให้แคลเซียมกลู กับน้ำเกลือให้พร้อมกันได้หรือเปล่า เช่น ตัวหนึ่งให้ทางใบหู ตัวหนึ่งให้ทางเส้นเลือดดำบริเวณหลอดอาหาร(คอ)
๕ น้ำเกลือสำหรับวัวโดยเฉพาะหรือตัวเดียวกับของคน
๖ เทคนิคการบังคับวัวขณะให้น้ำเกลือควรทำอย่างไรตลอดจนเวลาแทงเข็มแล้วมีอุปกรณ์ใดปิดรัดบ้าง
รบกวนสอบถามครับ ผมทำวิสาหกิจชมชนเลี้ยงวัวขุนกับชาวบ้านที่ภาครัฐให้การสนับสนุน แต่เห็นแม่วัวชาวบ้านล้มไม่ลุกและเสียวัว จากที่ศึกษาตามตำราตามเน็ต
คงเป็นไข้นมเนื่องเป็นช่วงให้นมลูก จึงอยากเรียนรู้การให้น้ำเกลือดังกล่าวปีนี้ตายสองตัวในกลุ่มสมาชิก หาหมอมาดูไม่ได้ชาวบ้านจ่ายไม่ไหวครับ จึงอยากศึกษาและทำเองในกลุ่มครับ
ที่สำคัญผมไม่มีความรู้พื้นฐานด้านนี้นะครับอยากศึกษาเรียนรู้เอามาทำเอง คงไม่เสี่ยงเท่าไร เห็นแต่ละะกระทู้มีคำตอบที่ดีให้เสมอ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
เรื่องตำแหน่งการให้น้ำเกลือและอีกหลายๆข้อให้ผู้ที่มีความรู้จริงๆมาตอบนะครับผมแค่งูๆปลาๆมิบังอาจ
แต่อยากจะขอแนะนำนิดนึงเรื่องการดูแลวัวก่อนคลอดและหลังคลอดเรื่องอาหารและแร่ธาตุต่างๆว่าแม่วัวได้รับอาหารและพวกแร่ธาตุเพียงพอหรือไม่ผมอยากให้ความสำคัญกับตรงนี้มากกว่าเพราะถ้าเราดูแลวัวส่วนนี้ดีอยู่แล้วเรื่องวัวป่วยเป็นไข้น้ำนมก็อาจจะน้อยลงหรือไม่เป็นเลยการรักษาผมว่ามันแก้ปัญหาที่ปลายเหตุครับ
ก็พยามอธิบายให้สมาชิกเข้าใจครับลูกวัวคลอดประมาณมีนา -พฤษภา หลังจากนั้นแถวบ้านไม่มีที่ปล่อยเลี้ยงครับจาการทำนาทำไร่ จะได้ปล่อยอีกทีก็
ต้นธันวามคม ช่วงเวลาที่ขังคอกแหล่ะครับทั้งให้นม ทั้งอากาศเปลี่ยน ทั้งอาหารไม่สมบูรณ์ครับ เป็นปัญหาทุกปีสำหรับชาวบ้าน
เลยอยากศึกษาเพื่อแก้ปัญหากับเพื่อนสมาชิกครับ
ขอบคุณครับศึกษาให้มากกว่านี้แล้วถามผู้รู้คงเข้าใจง่าย และทำได้ให้ผิดพลาดน้อยที่สุด
เห็นด้วยกับพี่มนตรีครับ เรามาแก้ไขกันที่ปลายเหตุครับ ด้วยเหตุการณ์ที่กล่าวมาเมื่อเรารักษาไปแล้วมันไม่จบครับ เดี๋ยวแม่วัวก็เป็นอีก เนื่องจากสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์มากพอที่จะให้นมได้
ผมเห็นว่าเราควรจะมาประชุมนั่งชี้แจงให้เป็นเรื่องเป็นราวไป ก็ควรจะทำโครงการหาอาหารให้แม่วัวดีไหมครับ เป็นทางแก้ไขที่จบในคราวเดียว เช่น ทำแปลงหญ้า หรือ หญ้าหมัก หรือกากมันหมัก ฯ เพื่อใช้ในฤดูแล้งครับ หรือใช้ตอนที่ขังคอก ปัญหาจะได้น้อยลง หาวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ ขั้นตอนการทำ ก็มีข้อมูลในเน็ตนี่แระครับเยอะอยู่ ไม่เข้าใจหรือสงสัย ก็โทรหาพี่ ในเว็ปนี่ก็ดายครับ พี่ไก่ เขาลงเบอร์ไว้ให้แล้วครับ ส่วนในกระทู้ไหนผมก็จำไม่ได้ครับ
เดี๋ยวให้พี่ไก่ มาบอกอีกทีครับ หรือถ้าสงสัยมาโพสต์ถามในบ้านหลังนี้ก็ได้ครับ รับรองได้คำตอบแน่
เรื่องการใช้เข็มกับวัว มันไม่เคยง่ายหรอกครัีบ มันอยู่ที่เทคนิคการทำ ความชำนาญของผู้ทำ ตัววัวเองด้วย เผลอๆ ทำแล้ววัวไม่ดีขึ้นหรือวัวตายไป มันจะเข้าตัวเราอีกต่างหากครับ หาว่าทำวัวเขาตายอีก (
(
________________
ขยันทำ ไม่ขยันพูดพล่าม สักวันเราจะมีกิน
ชาวบ้านหลายคนเปลี่ยนแปลงยากครับ ส่วนใหญ่ก็ต้นทุนต่ำครับ ผมเคยพาทำฟางหมักยูเรีย ตามสูตร หรือใช้ฟาร์มราดกากนัำตาลผสมยูเรีย
แต่สุดท้ายผมได้แคทำให้เขาดูหรือพยามสร้างความสำเร็จให้เขาเห็นเพื่อเขาจะได้ทำตาม(บ้าง)พาไปดูงานกลุ่มที่เขาประสบผลสำเร็จ แต่ปัจจัยหลายอย่างครับ
ที่ทำให้ชาวบ้านคิดต่างจากเรา ก็พยามทำเป็นแบบอย่างให้เขาดู และกระตุ้นวิธีคิดของเขาครับ
ผมได้ความรู้จากเวปครับจากการฝึกอบรมตอนแรกเลี้ยงวัวเป็นงานอดิเรก แต่ตอนนี้วัวกลายเป็นอาชีพเสริมสำหรับผม คิดว่าทำเพื่อช่วยชาวบ้านครับไม่ใช่ธุรกิจ จึงค่อยๆเรียนกับวัวตัวเองก่อนครับ อะไรที่ลดต้นทุนได้ก็ช่วยกันแบบพึ่งพิงครับ
ไม่ทราบว่าคุณprawitเลี้ยงวัวอยู่ที่ไหนครับ ผมว่าถ้าไม่ไกลจากโรงงานแป้งมันลองทำกากมันหมักยีสต์ดูก็ได้ครับต้นทุนต่ำเกษตรกรพอทำเองได้ช่วยลดปัญหาการขาดอาหารในยามหน้าแล้ง
ผมเองไม่ค่อยสันทัดกับการรักษาวัวสักเท่าไหร่เพราะเมื่อก่อนที่ผมเลี้ยงวัวนมผมจะดูแลจัดการปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุมันก็เลยไม่ค่อยได้เจ็บป่วยให้ผมได้เหนื่อยสักเท่าไหร่ครับ
แถวบ้านผมก็มีครับ สำหรับบางฟาร์มเรื่องไข้น้ำนม
ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดกับวัวที่ไม่มีอาหารเพียงพอ ไม่มีแปลงหญ้า และแร่ธาตุเสริม ซึ่งน่าจะเข้าเคสเดียวกันกับที่พี่มนตรีบอกไว้ครับ
ส่วนฟาร์มผมเอง ปล่อยวัวในแปลงหญ้า และมีแร่ธาตุก้อนให้เค้าเลีย และแทะตลอดเวลา ไม่เคยมีวัวเป็นไข้น้ำนมเลยครับ
ค่อยๆ ปรับวิธีการเลี้ยงมาเป็นแบบป้องกัน น่าจะคุ้มค่า และปลอดภัยกว่ามาตามแก้ไขหรือรักษาทีหลังนะครับ
เอาใจช่วยด้วยอีกหนึ่งคนครับ ส่วนเรื่องการให้ยาคงต้องรบกวนพี่หมอหลายๆ ท่านด้วยนะครับ
________________
สิ่งที่ดีที่สุด คือการที่เราได้อยู่ด้วยกัน
พอเพียงตามรอยพ่อ
ชาวบ้านเขาเข้าใจไม่เหมือนเราครับ เขายังยึดวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ครับ คือเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง แบบตามมีตามเกิด จะนำความรู้และเทคโนโลยีเข้าไปพัฒนา ทำคุณภาพชีวิต
การเป็นอยู่ดีขึ้นต้องใช้เวลาครับ อย่างที่พี่ prawit บอกมา คงต้องทำเป็นตัวอย่างให้ดูก่อนว่ามันได้ผลจริงๆ แล้วชาวบ้านถึงจะเชื่อครับ ลองวัวเราสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ต้องรักษาอาการเจ็บป่วย เดี๋ยวเขาก็มาถามครับ ยิ่งถ้าขายวัวได้ราคาอีกด้วยยิ่งดีครับ เมื่อเขาทราบว่าวัวสมบูรณ์ให้ผลผลิตดี ขายได้ราคา เขาถึงจะหันมาสนใจดูแลวัวมากขึ้นครับ
เอาใจช่วยครับ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้นครับ ถ้าตั้งใจทำจริง
________________
ขยันทำ ไม่ขยันพูดพล่าม สักวันเราจะมีกิน
ผมอยู่ปรางค์กู่ ศรีสะเกษครับ วัตถุดิบที่น่าเสียดายตอนนี้คือฟางครับ ผมว่าประโยชน์ในการเลี้ยงวัวน่าจะมากกว่านี้ ผมทำไปเรื่อยๆครับไม่ใช่ธุรกิจอะไรเป็นงานอดิเรกมากกว่าสุดท้ายมันมากขึ้นก็เป็นอาชีพเสริมไป อยากเห็นชาวบ้านมีรายได้เสริม อยากเห็นวัตถุดิบที่ทิ้งโดยเปล่าประโยชน์และใช้ไม่คุ้มเอามาใช้ให้คุ้ม คือฟางนี่แหล่ะ
ส่วนวัวผมไม่มีปัญหาโรคพวกนี้หรอกครับ ก็ได้แต่แนะนำครับไม่อยากให้ชาวบ้านลงทุนสูง ส่วนกากมันหมักยีีสไม่มีวัถุดิบครับก็ใช้แค่ฟางกับปล่อยทุ่งทั่วไปครับ หน้าฝนก็ดูแลดีหน่อย อาหารผมเสริมด้วยฟางราดกากน้ำตาลผสมยูเรีย ตามสูตรครับหน้าฝนก็ดีหน่อยมีหญ้าหาตามธรรมชาติทั่วไป ขอบคุณเพื่อนสมาชิกครับกับข้อเสนอแนะ
ถ้าจำเป็นจริงๆก็ต้องทำให้ได้ครับเพราะหมอเฉพาะทางจะมารักษานอกจากหายาก ราคาค่ารักษาชาวบ้านแตะไม่ได้ครับ